ท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวไว้ในหิกัมบทหนึ่งของท่านว่า
خَيْرُ مَا تَطْلُبُهُ مِنْهُ، مَا هُوَ طَالِبُهُ مِنْكَ “สิ่งที่ดีเลิศที่ท่านจะขอจากอัลลอฮ์ คือสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งใช้ท่าน”
خَيْرُ مَا تَطْلُبُهُ مِنْهُ، مَا هُوَ طَالِبُهُ مِنْكَ
“สิ่งที่ดีเลิศที่ท่านจะขอจากอัลลอฮ์ คือสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งใช้ท่าน”
การทำความดีงามในช่วงเวลา 10 วันของเดือนซุลฮิจญะฮ์นั้นเป็นที่รักยิ่งไปยังอัลลอฮฺตะอาลา และท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงส่งเสริมให้กระทำความดีงามในช่วง 10 วันของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ซึ่งการกระทำความดีงามนั้นย่อมครอบคลุมถึงการถือศีลอดด้วยและสมควรส่งเสริมให้กระทำเหมือนกับอิบาดะฮ์อื่นๆ ด้วย เช่น การซิกรุลลอฮ์ การอ่านอัลกุรอาน การศ่อะวาตต่อท่านนะบีย์ การเตาบะฮ์ การบริจาคทาน และการละหมาดสุนัตต่างๆ เป็นต้น
ระดับที่ 1. เขาจะขอดุอาอฺให้ประสบความวิบัติแก่ผู้ที่ซ่อเล็มเขา ซึ่งดุอาอฺของเขานี้จะไม่ถูกปฏิเสธ
ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
اتَّقِ دَعْوَةَ الْمَظْلُومِ ، فَإِنَّهَا لَيْسَ بَيْنَهَا وَبَيْنَ اللَّهِ حِجَابٌ “ท่านจงกลัวดุอาอฺของผู้ที่ถูกอธรรม เพราะแท้จริงไม่มีม่านกั้นระหว่างดุอาอฺของเขากับอัลลอฮฺ” รายงานโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม.
อุดฮียะฮ์ : คือสัตว์จำพวก อูฐ วัว ควาย แพะ หรือแกะ ที่เชือดเพื่อเป็นการนำตนเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺตะอาลาในวันอีด ส่วนหลักฐานในการบัญญัติอุดฮียะห์นั้นก็คือ คำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า
فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ “ดังนั้นเจ้าจงละหมาด (อีด) เพื่อองค์อภิบาลของเจ้าและจงเชือด (สัตว์)” (อัลเกาซัร : 2)
فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ
“ดังนั้นเจ้าจงละหมาด (อีด) เพื่อองค์อภิบาลของเจ้าและจงเชือด (สัตว์)” (อัลเกาซัร : 2)
ความหมายของคำว่าเชือดในทัศนะของนักวิชาการที่ถูกต้องที่สุดนั้นคือ เชือดสัตว์อุดฮียะห์
คำถาม: ฮุกุ่มการจัดทำละหมาดญุมุอะฮ์ของนักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่อาศัยของตน
ท่านอิกริมะฮ์ [عِكْرِمَةُ] : เขานั้น “เชื่อถือได้” [ثِقَةٌ] และ “มีความมั่นคง” [ثَبْتٌ] ซึ่งกลุ่มหนึ่งของปราชญ์หะดีษได้นำเขามาเป็นหลักฐานอ้างอิง ส่วนที่ผู้ที่ทำการวิจารณ์เขานั้นเป็นเพียงแค่ความเห็นส่วนตัวเท่านั้น1
การละหมาดอัตตัสบีหฺ เป็นละหมาดสุนัตหนึ่งที่มุสลิมสมควรนำมาปฏิบัติเพื่อสร้างรักและความใกล้ชิดอัลลอฮฺตะอาลา ให้มากยิ่งขึ้น ดังที่อัลลอฮฺตะอาลา ได้ทรงตรัสไว้ในหะดีษกุดซีย์ว่า “ผู้ใดที่เป็นศัตรูกับวะลีย์ของข้า ข้าก็จะประกาศรบกับเขา และไม่มีสิ่งใดที่บ่าวของข้าได้สร้างความใกล้ชิดยังข้าด้วยกับสิ่งหนึ่งที่ข้ารักยิ่งมากไปกว่าสิ่งที่ข้าได้กำหนดฟัรฎูแก่เขา และบ่าวของข้าก็ยังคงสร้างความใกล้ชิดยังข้าด้วยบรรดาอะมัลที่เป็นสุนัตจนกระทั่งข้ารักเขา”
ประเด็นที่เห็นพ้องกันเกี่ยวกับเรื่องการละหมาดอีดเป็นญะมาอะฮ์นั้นคือ ไม่วาญิบ (ไม่จำเป็น) ต้องไปละหมาดสถานที่มุศ็อลลาหรือลานกว้างที่เตรียมไว้สำหรับละหมาดอีด เนื่องจากการละหมาดที่มัสยิดนั้นเป็นที่อนุญาตให้กระทำได้ด้วยอิจญฺมาอฺแห่งปวงปราชญ์ผู้มีคุณธรรม
ซะกาตฟิตร์ถูกตราเป็นบัญญัติในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่สอง เช่นเดียวกับการถือศีลอดในเดือนรอมะดอน และจากหะดีษที่ว่า “ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กำหนดซะกาตฟิตร์ เพื่อชำระผู้ถือศีลอดให้สะอาดจากคำพูดที่ไร้สาระ และหยาบคาย และเพื่อเป็นอาหารแก่คนยากจน” รายงานโดยอบูดาวูด
อัลเลาะฮ์ตะอาลา ได้ทรงตรัสเกี่ยวกับเรื่องเดือนร่อมะฎอนและฮุกุ่มต่างๆ ของการถือศีลอดในครั้งเดียวในซูเราะฮ์อัลบะก่อเราะฮ์จากอายะฮ์ที่ 183-187 แต่สิ่งที่ทำให้ฉุกคิดในหัวใจก็คือ ระหว่างอายะฮ์ที่ 183-187 นั้น มีอายะฮ์หนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฮุกุ่มของการถือศีลอดเลย แต่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงนำมาสอดแทรกไว้ในบรรดาอายะฮ์ต่างๆ ที่กล่าวถึงฮุกุ่มการถือศีลอดเดือนร่อมะฎอน นั่นก็คืออายะฮ์ 186 ที่มีใจความว่า
เดือนร่อมะฎอนยังมีอีกชื่อหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่า “เดือนแห่งความอดทน” ซึ่งความอดทนนั้นเป็นตำแหน่งหรือระดับของจิตใจที่มีความสูงส่ง เพราะความอดทนนั้น เป็นความรู้สึกยังยั้งชั่งใจหรือระงับจิตใจให้พ้นจากสิ่งที่อารมณ์ใฝ่ต่ำปรารถนา ซึ่งทำให้หัวใจของผู้ศรัทธามีความรักและผูกพันกับอัลเลาะฮ์ตะอาลามากยิ่งขึ้นนั่นเอง
วิเคราะห์สายรายงานละหมาด 8 ร็อกอะฮ์
สายรายงานของท่านญาบิร: ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์ ได้รายงานว่า
عَنْ عِيْسَى بْنِ جَارِيَةَ عَنْ جَابِرٍ بْنِ عَبْدِ اللهِ قَالَ : صَلَّى بِنَا رَسُوْلُ اللهُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَ سَلَّمَ فِيْ رَمَضَانَ ثَمَانَ رَكَعاَتٍ وَالْوِتْرَ “จากท่านอีซา บิน ญาริยะฮ์ จากท่านญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ เขากล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดกับพวกเราในเดือนร่อมะฎอน 8 ร็อกอะฮ์และทำวิติร”
เหล่าศ่อฮาบะฮ์ทำละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์
มีสายรายงานที่ศอฮีห์และมีน้ำหนัก ได้ยืนยันว่าเหล่าศ่อฮาบะฮ์ได้ทำละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ และยืนยันว่าท้ายที่สุดแล้วละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์เป็นอิจญฺมาอฺของเหล่าศ่อฮาบะฮ์ในสมัยของอัลคุละฟาอฺอัรรอชีดีน
คำว่าอัตตะรอวีหฺ (اَلتَّرَاوِيْحُ) หมายถึง การหยุดพัก และตามหลักภาษาอาหรับ เป็นพหุพจน์จากคำว่า อัตตัรวีหะฮ์ (اَلتَّرْوِيْحَةُ) ท่านอิบนุ มันซูรให้ความหมายว่า การเรียก “อัตตัรวีหะฮ์” (اَلتَّرْوِيْحَةُ) ในเดือนร่อมะฎอนนั้น เพราะผู้ที่ทำละหมาดจะทำการหยุดพักในทุกสี่ร็อกอะฮ์ ... และคำว่า อัตตะรอวีหฺ (اَلتَّرَاوِيْحُ) เป็นพหุพจน์จากคำว่า อัตตัรวีหะฮ์ (اَلتَّرْوِيْحَةُ) ซึ่งหมายถึง พักหนึ่งครั้ง...
การเตาบะฮ์จากบาปนั้นมีสองประเภท คือ:
การทำเมาลิดนะบีย์นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่มีการพูดถึงหรือไม่ถูกระบุฮุกุ่มไว้ในยุคสมัยของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และยุคสะละฟุศศอลิห์ ดังนั้นฮุกุ่มจึงถูกว่างเว้นโดยไม่อนุญาตให้กล่าวว่าท่านนะบีย์และสะลัฟได้ห้ามหรือได้ใช้ให้ทำเมาลิดในรูปแบบที่เกิดขึ้นมาในยุคหลัง และเมื่อการทำเมาลิดได้เกิดขึ้น บรรดาปวงปราชญ์ส่วนมากได้วินิจฉัยว่าการทำเมาลิดนั้นเป็นสิ่งที่ดีและอนุญาตให้กระทำได้ตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนั้นผู้เขียนจึงขอนำคำฟัตวาของปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์สามท่านมานำเสนอเพื่อให้ท่านผู้อ่านที่มีหัวใจเป็นธรรมและใฝ่รู้ได้นำไปคิดใคร่ครวญและนำไปปรับปรุงเกี่ยวกับการทำเมาลิดนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ละหมาดร่อวาติบ คือละหมาดสุนัตก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู ละหมาดสุนัตก่อนฟัรฎู เรียกว่า สุนัตก็อบลียะฮ์ [اَلْقَبْلِيَّةُ ] และละหมาดสุนัตหลังฟัรฎู เรียกว่าสุนัตบะอฺดียะฮ์ [اَلْبَعْدِيَّةُ ]
พวกที่ชอบสร้างความสงสัยในอิสลามจะกล่าวว่า อัลกุรอานได้กล่าวไว้อย่างยืดยาวเกี่ยวกับนางสวรรค์ (อัลฮูรุลอีน) ที่อัลเลาะฮ์ทรงตระเตรียมไว้สำหรับบรรดาบุรุษในสวรรค์ โดยพระองค์มิได้ทรงตระเตรียมไว้สำหรับสตรีในอัลกุรอาน ซึ่งประเด็นที่ได้กล่าวไว้ในอัลกุรอานเช่นนี้ เป็นหลักฐานชิ้นใหม่ที่วางอยู่บนพื้นฐานของทฤษฏีการเหยียดหยามสิทธิสตรี แม้กระทั่งในสวรรค์อันนิรันดรที่เป็นสถานที่พำนักแห่งการตอบแทนก็ตาม
ละหมาดสุรยคราสและจันทรคราสคือ การละหมาดที่ถูกบัญญัติขึ้นเพราะมีเหตุเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คุซูฟ) มุสลิมจะทำการวิงวอนต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา ให้พ้นจากความเดือดร้อนและขอให้แสงสว่างกลับคืนมา
ท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือฮิกัมของท่านว่า:
مَا اسْتُوْدِعَ فِي غَيْبِ السَّراَئِرِ ظَهَرَ فِي شَهَادَةِ الظَّوَاهِرِ “สิ่งที่ถูกบรรจุไว้ในจิตใจที่มองไม่เห็น (ด้วยตา) มันจะปรากฏให้เห็นทางภายนอก”
การถือศีลอดในวันตาซูอาอฺและอาชูรออฺนั้น เป็นซุนนะฮ์ของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม วันตาซูอาอฺ คือวันที่ 9 ของเดือนมุหัรร็อม และวันอาชูรออฺ คือวันที่ 10 ของเดือนมุหัรร็อม
นำเสนอหลักการอิสลามจากกีตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺตามแนวทางของมัสฮับทั้งสี่